เสรีการค้าอาเซียน คนไทยต้องรู้ 4

เราจะได้อะไรจากกฎบัตรอาเซียน


 ปฎิกิริยาของภาคส่วนต่างๆต่อกฎบัตรอาเซียนมีทั้งทางบวกและลบ รัฐบาลของประเทศต่างๆทั้งภายในกลุ่มและนอกกลุ่มอาเซียนต่างมองว่าการลงนามกฎบัตรเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้ข้อตกลงและคำประกาศต่างๆของอาเซียนมีพลังและเพิ่มความเป็นทางการให้แก่อาเซียนรวมทั้งเพื่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฎิบัตตามข้อตงลงที่มีอยู่  ส่วนองค์กรภาคประชาชน องค์กรชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชน ต่างก็เห็นว่ากฎบัตรอาเซียนยังขาดรายละเอียดที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ยังไม่ให้ความสำคัญในบทบาท และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน กล่าวคือเนื้อหาในส่วนนี้ยังไม่มีความสำคัญต่ออาเซียนเท่าที่ควร ในกฎบัตรยังไม่ระบุชัดถึงกลไกในการตัดสินข้อพิพาท ความรับผิดชอบและการชดใช้หากมีการกระทำความผิดของรัฐบาลของประเทศสมาชิกต่อพลเมืองหรือประชาชนของแต่ละประเทศ และได้มอบหมายให้หน่วยงานระดับกระทรวงของแต่ละประเทศไปกำหนดรายละเอียดเอาเอง แม้ว่ากฎบัตรอาเซียนได้กล่าวถึงว่าอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (การดำเนินการใดๆต้องคำนึงถึงความสามารถ บทบาทและมติของประชาชนฯลฯ) แต่ก็ไม่ได้มีกลไกที่ชัดเชนอะไรที่จะรับรองว่าการกระทำต่างๆจะมีความโปล่งใส และให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมหรือบทบาทอะไรในกิจกรรมที่รัฐบาลของตนได้เข้าไปดำเนินการกับอาเซียน ไม่มีการกล่าวถึงองค์กรอิสระที่จะตรวจสอบ ไม่ได้บอกว่าพลเมืองของแต่ละประเทศจะเข้าร่วมกระบวนการทำงานของอาเซียนได้อย่างไร หรือแม้แต่จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากอาเซียนได้อย่างไร 

 กฎบัตรมีแต่จะบัญญัติบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐประเทศสมาชิก ไม่มีการกล่าวถึงประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตกร แรงงานอพยพ ผู้หญิงและชนกลุ่มน้อย

กฎบัตรอาเซียนนั้นยังให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อยโดยระบบตลาด โดยการผูกโยงเศรษฐกิจของทุกประเทศเข้าด้วยกันเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว มีการตีความแนวเดียวคือให้มีการเปิดตลาดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี

สิ่งที่น่ายินดีเรื่องหนึ่งในกฎบัตรอาเซียนคือ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนซึ่งอยู่ทั้งในอรัมภบทและในหลักการ ซึ่งจะจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนขึ้นมา แต่ในความจริงที่เป็นอยู่การดำเนินการก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น วิกฤติการณ์ทางสังคมในพม่าเกี่ยวกับสิทธิ์และความอยู่รอดของชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา เป็นต้น

กระบวนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนที่ผ่านมาแทบไม่ได้มีการหารือกับภาคส่วนอื่นๆเลย ไม่มีการเปิดเผยร่างกฎบัตรให้โอกาสภาคประชาชนได้อภิปรายก่อนที่จะจัดทำขึ้นมา พลเมืองของประเทศสมาชิกจึงมีโอกาสน้อยที่สุดในการเสนอความคิดเห็นในการยกร่างกฎบัตรที่ผ่านมา โดยรวมประชาชนพลเมืองของแต่ละประเทศก็ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาและผลดีหรือผลเสียของกฎบัตรในบางข้อได้เลย ซึ่งอาจเกิดปัญหาต่อภาคประชาสังคมในระยะยาวได้ และหากมีการยกร่างกฎหมายลูกต่างๆขึ้นมาอธิบายและรองรับกฎบัตรก็สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย เพื่อทำความเข้าใจและมองถึงอนาคตของภาคประชาชนในอนาคตได้บ้างก็จะดีอย่างยิ่ง 

ความจริงข้อหนึ่งก็คือ คู่ประชุมเจรจาและออกความคิดเห็นส่วนใหญ่ยังคงเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจแต่ฝ่ายเดียว โดยประชาชนรอรับข่าวคำประกาศและการปรับตัวตามไปในทิศทางเดียวเท่านั้น สรุปได้ว่า จากเนื้อหาของกฎบัตรอาเซียนมีทั้งผลดีและผลกระทบต่อประชาชนพลเมืองในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเสาหลักต่างๆเกิดความไม่สมดุลขึ้นมาเมื่อไร ประชาชนจะรับภาระจากผลกระทบทั้งหมดก่อนเสมอ เรื่องอย่างนี้จึงต้องแลไปข้างหน้าว่าเราจะได้อะไร ?





ที่มา บทวิเคราะห์จากเอกสารค่ายเยาวชนภูเก็ต ,2553

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.