ลักษณะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน1
ภาพ:อ่าวไร่เล จังหวัดกระบี่ โดย Andadugong |
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันหรือภาคใต้ฝั่งตะวันตกนั้นประกอบด้วย จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
กลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามันตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งทิศตะวันตก มีรูปร่างของพื้นที่ทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ พื้นที่อันดามันติดกับมหาสมุทรอินเดียมีความยาวของชายฝั่ง 878 กิโลเมตร โดยพื้นที่มีลักษณะภูมิสันฐานเป็นทิวเขาสูงติดชายฝั่งทะล ลักษณะชายฝั่งจมน้ำและเว้าๆแหว่งๆ และมีหมู่เกาะน้อยใหญ่ริมทวีปกระจายตัวตลอดแนวชายฝั่งทะเล พื้นที่เหล่านี้อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครฯ ประมาณ 568-828 กิโลเมตร(ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพรชเกษม) พื้นที่โดยรวมหากไม่นับจังหวัดสตูล เฉพาะในเขตกลุ่มร่วมพัฒนา 5 จังหวัด(ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง)จะมีพื้นที่ประมาณ 17,688.915 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 11,055,571.875 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ภาคใต้ มีเขตการปกครองใน 5 จังหวัดรวม 34 อำเภอ 235 ตำบล และ1,716 หมู่บ้าน มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งบนบกและเกาะแก่งต่างๆในทะเลตลอดแนวชายฝั่งทั้งหมด 412 เกาะ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคาบสมุทรมะเย็ก (Myeik) ของสหภาพเมียนม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละงู จังหวัดสตูล ทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา (Maalacca Strait) หากนับรวมจังหวัดสตูล (*ความจริงแล้วจังหวัดชายฝั่งอันดามันมี 6 จังหวัดและใต้สุดคือจังหวัดสตูลซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซียทั้งทางบกและทางทะเล แต่เนื้อหาในที่นี้อธิบายตามพื้นที่ในเขตแผนพัฒนาเพียงแค่ 5 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มจังหวัด โดยในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานั้นจังหวัดสตูลบรรจุอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายเลน ซึ่งได้แก่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลาและนารธิวาส ปัจจุบันจังหวัดสตูลเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพราะมีทิวทัศน์สวยงามเช่น เกาะหลีเป๊ะ)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าแซะ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอหลังสวน และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม อำเภอพระแสง และอำเภอชัยบุรีในจังหวัดสุราษฏร์ธานี อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน อำเภอทุ่งสง และอำเภอจุฬาภรณ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน และอำเภอกงหรา ในจังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก อาณาเขตติดต่อกับสหภาพเมียนมา และทะเลอันดามัน
ภาพ: อ่าวโต๊ะหลีและอ่าวพังงา จังหวัดพังงา โดย Andadugong |
ขนาดพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
มีพื้นที่โดยรวม 17,688.915 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมดในภาคใต้ กลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามันประกอบด้วย
จังหวัดระนอง มีพื้นที่ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร
จังหวัดพังงา มีพื้นที่ 4,170.895 ตารางกิโลเมตร
จังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ 570.034 ตารางกิโลเมตร
จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ 4,708.512 ตางรางกิโลเมตร
จังหวัดตรัง มีพื้นที่ 4,941.439 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
มีพื้นที่เป็นแนวทอดยาวตามชายฝั่งทะเลอันดามันทางทิศตะวันตกของประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศด้านตะวันตกมีแนวเทือกเขา พาดผ่านจากจังหวัดระนองลงมาถึงจังหวัดพังงา
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายต่างๆ แม่น้ำและลำน้ำมีความยาวไม่มากนักและไหลลงสู่ทะเลอันดามันไปทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิประเทศเกิดจากแผ่นดินยุบตัวลงไปทำให้ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งมีอ่าวและเกาะเล็กๆ มากมาย จากลักษณะภูมิประเทศที่มีความหลากหลายและสวยงามดังกล่าว ทำให้พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันเหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในระดับนานาชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
จังหวัดระนอง มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขา หุบเขาสลับซับซ้อนประมาณ ร้อยละ 86 ของพื้นที่จังหวัด มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ
14 ของพื้นที่เท่านั้น
โดยทางทิศตะวันออกของพื้นที่ จะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้
ประกอบด้วย เขาแดน เขาห้วยเสียด เขานมสาว
ลักษณะของพื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศตะวันออกลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก
โดยมีพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 69 กิโลเมตร
ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ ทั้งสิ้น 62 เกาะ
ได้แก่ เกาะพยาม เกาะสินไห เกาะช้าง และเกาะเหลา เป็นต้น
จังหวัดพังงา มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูง ทางด้านตะวันตกของพื้นที่
โดยจะทอดตัวเป็นแนวยาวตามแนวเหนือใต้มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาภูเก็ตซึ่งเป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณตอนกลางของพื้นที่จะมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 20-120 เมตร
ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง ลักษณะของพื้นที่จะลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามัน
และมีที่ราบแคบๆตามชายฝั่งทะเลยาวประมาณ
239.25
กิโลเมตร
โดยตามแนวชายฝั่งทะเลจะมีป่าชายเลนเกือบตลอดพื้นที่ ประกอบด้วยเกาะประมาณ 105 เกาะ ได้แก่ เกาะยาว หมู่เกาะสุรินทร์
และหมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น
ชายหาดกะหลิม ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ภาพโดย Kwanjai |
จังหวัดภูเก็ต มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเล มีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแผ่นดินใหญ่ มีพืี้นที่ร้อยละ 70 ของจังหวัดเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ ส่วนอีกร้อยละ 30 เป็นที่ราบ ด้านชายฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นภูเขา
ทางทิศเหนือและด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง ขณะที่ด้านตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ
จังหวัดภูเก็ตมีลำน้ำลำห้วยและคลองขนาดเล็กรวม 9 สาย และมีแหล่งน้ำผิวดินที่เป็นพรุธรรมชาติ ขุมเหมืองเก่า และอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน ด้านตะวันออกของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย หาดโคลน ป่าชายเลน
และพื้นที่ทรายงอก ขณะที่ด้านตะวันตกเป็นหาดทรายสวยงาม นอกจากนี้ยังมีเกาะบริวารทั้งสิ้น 32 เกาะ ได้แก่ เกาะนก เกาะนาคาน้อย
เกาะนาคาใหญ่ เกาะมะพร้าว เกาะโหลน เกาะแก้วน้อย และ เกาะชีเป็นต้น
จังหวัดกระบี่ มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนที่มีลักษณะเป็นภูเขาโดดๆเตี้ยๆมีเขาหินปูน มีบ่อน้ำร้อน และแอ่งน้ำที่เกิดจากการยุบตัวของผืนดิน สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และที่ราบเชิงเขาบริเวณทางตอนบนของพื้นที่ ตอนกลางของพื้นที่มีแนวภูเขาที่สำคัญทอดตัวในแนว-เหนือใต้ ได้แก่ ภูเขาพนมเบญจา นอกจากนี้บริเวณด้านตะวันตกของพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆตามชายฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ 160 กิโลเมตร
มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลจมตัวจึงทำให้ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่ง สูงชันต่างกัน
บางบริเวณมีภูเขาติดกับชายฝั่งทะเล เช่น เขากาโรส นอกจากนี้กระบี่ยังประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 154 เกาะ
โดยเป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 13 เกาะ
เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะศรีบอยา เกาะปู เกาะลันตา
และเกาะพีพี(Phi Phi Islands)ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก
จังหวัดตรัง มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนเนินสูงๆต่ำๆสลับด้วยภูเขาใหญ่-เล็ก
ถ้ำและแอ่งน้ำที่เกิดจากการยุบตัวของพื้นดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปภายในพื้นที่ ได้แก่ ถ้ำเขาช้างหาย ถ้ำเลเขากอบ เป็นต้น
ในขณะท่พท่รีาบมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกข้าว
ทางทิศตะวันออกมี มีเทือกเขาบรรทัดทอดตัวยาวจากเหนือจรดใต้โดยเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง
ซึ่งตามแนวทิวเขาปกคลุมด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบตามชายฝั่งทะเล มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้จังหวัดตรังยังประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นเกาะ ทั้งสิ้น 46 เกาะ ได้แก่ เกาะสุกร เกาะลิบง(Talibong) เกาะกระดาน เกาะรอก และเกาะมุก เป็นต้น
จุดชมวิวแหลมพรหมเทพ ภูเก็ต |
ป่าชายเลนอ่าวยน ปากคลองมุดง ภูเก็ต |
*ข้อมูลจาก เอกสารทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พ.ศ.2557-2560