ลักษณะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน2-ภูมิอากาศ
พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคใต้ จึงส่งผลทาให้มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical Monsoon Climate) โดยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตลอดทั้งปี
จึงทาให้มีฝนตกเกือบตลอดปี และอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี
เท่ากับ 31.9-33.1 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดตลอดปีเท่ากับ
38.4-40.3 และ 22.9-24.3 องศาเซลเซียส ตามลาดับ
จากลักษณะภูมิอากาศดังกล่าวสามารถแบ่งฤดูกาลในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ได้เป็น 2 ฤดู คือ
1 ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม
รวมเป็นระยะเวลา 7-9 เดือน โดยช่วงแรก เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน
ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ มีปริมาณน้าฝนเฉลี่ยประมาณ
118.7 - 730.2 มิลลิเมตรต่อเดือน และช่วงหลังเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาพนมเบญจาปิดกั้นไว้
โดยพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปี เท่ากับ
2,053.2-4,125.6 มิลลิเมตร และมีค่าเฉลี่ยจานวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ
180-204 วัน
2 ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นและปริมาณน้าฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมจากแถบเส้นศูนย์สูตรในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล รวมเป็นระยะเวลา
3 เดือนอุณหภูมิเฉลี่ย
พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันมีอุณหภูมิต่ำสุด ตั้งแต่ 22.2-24.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด ตั้งแต่ 32.0-39.1 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ 26.8-32.5 องศาเซลเซียส
![]() |
ตาราง : แสดงอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณการระเหยของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
|
ทั้งนี้แนวโน้มอุณหภูมิของภาคใต้ในอนาคตนั้น อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ที่คาดว่าจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยในปี ค.ศ. 2089 (พ.ศ. 2632) สูงขึ้นกว่าปีฐาน (1970 – 1999) มากกว่า 4 องศาเซลเซียส ได้แก่ จ.กระบี เกือบทุกพื้นที่มีจำนวนวันที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้นจากปี ฐานมากกว่า 100 วัน ประกอบกับเกือบทุกพื้นที่ที่จำนวนวันอากาศเย็นลดลงจากปีฐานอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มสูงกว่าจะไม่ปรากฏที่มีอากาศเย็นติดต่อกันเป็นเวลานาน