คำมาเลย์ที่ยังใช้อยู่ในจังหวัดตรัง


ภาษามลายูกลางเป็นภาษาที่คนรุ่นปู่ย่า ตายาย ใช้สนทนากันในหมู่บ้านชายทะเลและหมู่เกาะต่างๆในจังหวัดตรัง(กันตัง สิเกา ย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน) จังหวัดกระบี่ สตูล พังงา และนครศรีธรรมราช(บ้านในตุ้ง อำเภอท่าศาลา)แต่ในปัจจุบันนี้คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทย สำเนียงปักษ์ใต้เป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังมีคำศัพท์หลายคำที่ยังมีใช้อยู่โดยนำคำเข้าไปเชื่อมในประโยคกับคำภาษาไทยและใช้พูดคุยกันในหมู่บ้าน ต่อไปนี้คือตัวอย่างคำที่ยังมีใช้อยู่

tunang (ตูหนัง) หมายถึง คู่มั่น
bercakap (บัร จากัป)โดยมากใช้ จังกาป หมายถึง คุย สนทนากัน
baka (บะกา) แปลว่า สกุล
karut กาโรส แปลว่า ไร้สาระ เหลวไหล ยุ่ง
nikah (นิกะฮ์) แปลว่า แต่งงาน
sembahyang (ซำบาหยังหรือสมาหยัง) แปลว่า การละหมาด(กราบไหว้พระเจ้า)
tuhan (ตูฮัน) แปลว่า พระเจ้า
pisah (แฟซะ) แปลว่า แยกหรือขาด
temurun,turun (ตุหรน) ตระกูลหรือหมายถึงคนในยุคก่อนๆ หลายชั่วอายุคน
mengarang (กาหรัง) แปลว่า เขียนหรือเรียบเรียง
kitab (กิตาบ) หนังสือ
kampung (กัมปง) แปลว่า บ้าน หรือ หมู่บ้าน

akanduri (อากันดุหรี ) แปลว่า งานเลี้ยงอาหาร ทำบุญ
nyanyuk (ยาเยาะ) แปลว่า สมองเสื่อม หลงๆลืมๆ
talam (ตะหลำ) แปลว่า ถาด เช่น เอากับข้าวใส่ตะหลำมาให้ปะที
ikhwan (อิควาน) แปลว่า สหาย เพื่อน
ilmu (อิ้ลมู) แปลว่า วิชา ความรู้
duja,dunia (ดุนญา หรือดุเหนีย) แปลว่า โลกนี้
jagung (คง) ผันและย่อมาจากคำว่า  jagung คำที่ใช้กันคือ "คง" แปลว่า ข้าวโพด
jahil (ยาเห้ล) แปลว่า โง่เขลา ไม่มีความรู้
jambu (ยาหมู ) แปลว่า ลูกฝรั่ง
่janggut (ยังโฮ้ต) แปลว่า เครา
janji (ชันชี) แปลว่า สัญญา
jin (ญิน) แปลว่า ผี (ปีศาจ,ฮันตู)หรือ ญิณในภาษาอาหรับ
jubah  (ยูบะฮ์) แปลว่า เสื้อยาว
kafan (กาฟัน) แปลว่า ห่อศพ
kait (ขอย) หรือสอย
kakak (กะฮ์) ย่อเหลือคำว่า กะ แปลว่าพี่ หรือพี่สาว
karang (กาหรัง) แปลว่า หินปะการัง
kopi (โกปี้) แปลว่า กาแฟ
ku หรือ aku กู ฉัน
lagu (ลาอู) แปลว่า เพลง ทำนอง
lalai (ลาไล) แปลว่า ประมาท ชักช้า เลินเล่อ
latah (ลาต๊ะ) แปลว่า บ้าจี้
lebai (บัย) แปลว่า ผู้บำเพ็ญบุญ ชายที่อยู่ในศีลธรรมศาสนา ผันเป็น โตะไบหริอ บัย
lelong (แลล้อง) แปลว่า ขายทอดตลาด(หรือขายให้หมดๆไป)
lunca (ลั้งกา) แปลว่า ต่ำต้อย
maaf (มาฮัฟ) แปลว่า ขอโทษ
mak มะหรือแม่, pak ปะหรือพ่อ
makan (มากัน)แปลว่า กิน หรือ makanan แปลว่า อาหาร
maulud (เมาโหลด)แปลว่า วันเกิด
mayat (มาหยัด) แปลว่า ศพ
mukim (มุเก็ม) แปลว่า ตำบล
musang (มุสัง) แปลว่า เสือปลา
naraka , nuraka เพี้ยนเป็น"ชาล่ากา" แปลว่า นรก
nanas เพี้ยนเป็น "ยานัส" แปลว่า สับปะรด
nenek พูดสั้นเป็น แหนะ หรือโตะแหนะ เดิมทีแปลว่าย่า และเรียกแม่ของย่าว่า โตะแหนะ
niat (เหนียต) แปลว่า ตั้งใจ หรือเจตนา
pakat , berpakat (ปากาท) แปลว่า ร่วม หรือ ร่วมกัน
pantang (ปันตัง) แปลว่า ห้าม หรือป้องกันไว้ เช่น อย่ากินของปันตัง(อย่ากินของห้าม)
goni (โกนี่) แปลว่า กระสอบ มักพูดว่าอูนี่
habis (ฮาบิส) แปลว่า หมด มักพูดเพีัยนเป็น อะเบะ
bapak tiri มักใช้สั้นๆและผันคำมาพูดแค่คำว่า"ปะจิ" แปลว่า พ่อเลี้ยง
yatim (ยาเต็ม) แปลว่า กำพร้า

คำมาเลย์ที่ยังใช้พูดกันในปัจจุบันนั้นมีอีกมากมายหลายคำ แต่ผู้เขียนขอยกตัวอย่างไว้พอสังเขปเท่านั้น
*หมายเหตุ คำอ่านที่นำเสนอนั้นเป็นสำเนียงทางปักษใต้  ซึ่งบางคำอาจไม่ตรงกับสำเนียงของมาเลเซีย แต่ก็พอจะอ้างอิงกลับไปยังรากคำและความเป็นมาของชุมชนต่างๆได้ในระดับหนึ่ง

By Apichart Suren
Re: Kamus Thai-Melayu; Oleh,Dr.Mohammad A.Kadir

ขับเคลื่อนโดย Blogger.