ท่าเรือกันตัง

สินค้าตรัง,trang,port
ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า

แผนที่ท่าเรือกันตัง

กันตัง
ท่าเรือกันตัง

ท่าเรือกันตัง 

เป็นท่าเรือขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรังในเขตเทศบาลเมืองกันตัง มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า การขนส่งและ แวะพักสินค้ามาตั้งแต่อดีต กันตังเป็นเมืองท่าที่คุมเส้นทางไทย ปีนัง(ประเทศมาเลเซีย) ทะเลอันดามัน อินโดนีเซีย และสิงค์โปร์ กองทัพญี่ปุ่นในสมัยนั้นยกพลขึ้นบกจากเส้นทางแหลมมลายูมาสู่อำเภอกันตัง แต่ก่อนหน้านั้นท่าเรือกันตังมีความเจริญด้านการค้าทางทะเลมาก่อนแล้ว มีเรือสินค้าต่างๆรวมทั้งเรือกลไฟเข้าเทียบท่า ดังที่ปรากฎในเพลงประจำจังหวัดตรังตอนหนึ่งว่า
"เมืองตรังเมืองทองของไทย ถิ่นใต้เคยได้ชื่อมา อุดมสมบูรณ์นานาสมเป็นเมืองท่า เมืองทองของไทย.."
ในปี พ.ศ.2519 ท่าเรือกันตังได้ถูกปรับปรุงต่อเติมพัฒนาให้เป็นท่าเรือที่สมบูรณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน


การขนส่ง


ใช้เรือหัวลากและเรือบาร์จ (Barge) ลำเลียงสินค้าออกสู่ปากน้ำตรังสู่ทะเลอันดามัน

เรือและสินค้าที่ผ่านท่าเรือ

สินค้าที่ขนส่งผ่านท่าเรือมีทั้งสินค้าเทกอง สินค้าตู้และสินค้าทั่วไป สินค้าขาออกที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ยางแผ่นรมควัน ไม่ยางพาราแปรรูป ส่งออกโดยตู้สินค้าซึ่งจะขนส่งไปเปลี่ยนถ่ายขึ้นเรือใหญ่ที่ท่าเรือปีนังประเทศมาเลเซียเพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ยังขนส่งสินค้าประเภทแร่ยิปซั่ม แร่แบร์ไลท์ ปูนซีเมนต์ เหล็ก ไม้ และกากปาล์ม เป็นต้น ส่วนสินค้าขาเข้าได้แก่ ถ่านหิน ปุ๋ยเคมี เครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์การเกษตร เส้นทางเดินเรือที่เข้าเทียบท่า เช่น กันตัง-ปีนัง และกันตัง-อินโดนีเซีย (ที่มา:http://www.tri.chula.ac.th)

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์:

อำเภอกันตัง (UN/LOCODE:THKAN):Amphoe Kantang,Trang

รหัสทางภูมิศาสตร์ 9202, รหัสไปรษณีย์ 92110, พื้นที่ 612.7 ตร.กม.
ประชากร 84,705 คน (พ.ศ. 2552), ความหนาแน่น 138.24 คน/ตร.กม.
พิกัด : 7°24′20″N 99°30′55″E / 7.40556°N 99.51528°E



  ท่าเรือกันตังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอกันตังและจังหวัดตรัง เพราะเป็นท่าเรือขนส่งสินค้ามายาวนานหลายชั่วอายุคน

ความเกี่ยวข้องกับชุมชน
การเดินทางมาติดต่อค้าขายและเที่ยวงานประจำปี(งานลอยกระทง)ของคนฝั่งอันดามัน(ทิศตะวันตกของแม่นํ้าตรัง) ในอดีตต้องใช้เรือหางยาวและเรือแจวออกจากท่าเรือในหมู่บ้านวิ่งลัดเลาะออกสู่แม่นํ้าตรังจนมาจอดเทียบท่าที่ท่าเรือกันตังหรือตลาดกันตัง ถ้าเป็นคนที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะมุก เกาะลิบง พวกเขาต้องนั่งเรือโดยสารจากท่าเรือในเกาะวิ่งมุ่งตรงเข้าสู่ปากแม่นํ้าจนถึงท่าเรือกันตังได้อย่างสะดวกแม้จะใช้เวลานั่งเรือนานเป็นชั่วโมงก็ตาม แต่ภารกิจรายวันของประชากรก็สำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอมา

 เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประชากรทั้งสองฝั่งยังใช้เรือหางยาวเดินทางไปมาทั้งสองฝั่ง ทำให้เกิดอาชีพเรือหางยาวรับจ้างซึ่งเคยเป็นรายได้ของหลายครอบครัวเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว แต่การพัฒนาท่าเทียบเรือและการใช้แพขนานยนต์ของเทศบาลมาบริการประชาชนทั้งสองฝั่งก็มีความสำคัญมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสะพานท่าปาบซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางข้ามแม่นํ้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และมีความปลอดภัยมากที่สุดโดยเฉพาะต่อเด็กๆและผู้ปกครองซึ่งต้องเดินทางไปติดต่อธุระประจำวันและต้องรับส่งเด็กนักเรียนข้ามฝั่งไปมาเป็นประจำ แม้จะมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

ท่าเรือกันตังก็ยังคงความสำคัญอยู่เช่นเดิม ที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่บรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประมง แพปลา โรงงานผลิตอาหารทะเล และการขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านท่าเทียบเรือกันตังด้วยเรือลากจูง ระหว่างเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็นยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าเทกองประเภทแร่ยิบซั่มและถ่านหิน นั่นแสดงให้เห็นว่า ท่าเรือกันตังยังสำคัญต่อเศรฐกิจและ วิถีชีวิตประจำวันของทั้งสองฝั่งแม่นํ้าตรัง และ ยังเป็นเป้าหมายหนึ่งในแผนการพัฒนาระยะยาวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 (ดูเพิ่มเติมที่ worldportsource.com/ports )



 
ข้อมูลภาพถ่ายและประวัติศาสตร์ดูเพิ่มเติมที่  wikipedia ,
 kantangcity.go.th

บริการขนส่งสินค้าทางทะเล ท่าเรือใกล้เคียง
ท่าเรือยุโสบ อินเตอร์เนชั่นแนล หมู่ที่ 5 ต.บ่อน้ำร้อน อ.กันตัง จ.ตรัง 92110
ที่ตั้ง แผนที่
บริษัทให้บริการขนส่งทางทะเล ดูที่เว็บไซต์ Yusobport.co.th

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 พฤษภาคม 2562 เวลา 13:04

    อยากได้เบอร์โทรหน่อยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ท่าเรือในกันตัง ชายฝั่งตำบลบ่อน้ำร้อน ท่าเรือยูโสบ 075253163
      ชายฝั่งตำบลบ่อน้ำร้อน ท่าเรือโชคชัย 0628251327

      ลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.