ประวัติศาสตร์เกาะลิบง
ชื่อของเกาะนี้มีความเป็นมาคาบเกี่ยวกันระหว่างประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซียและประเทศไทย เกาะลิบงมีชื่ออยู่ในตำนานและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยก่อนโดยมีชื่อของเกาะและชื่อของบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้อง นอกจากนี้คำบอกเล่าที่เป็นตำนานจากรุ่นสู่รุ่นที่สืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่มาเสริมต่อให้เราสามารถมองย้อนกลับไปในอดีตได้แจ่มชัดมากขึ้น
แรกเริ่มเดิมทีย้อนกลับไปประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา คนในเมืองกันตังซึ่งเป็นแผ่นดินใหญ่ยังเรียกคนที่อาศัยอยู่ในเกาะต่างๆ เช่นเกาะมุก และเกาะลิบงว่า”โบ๊เล” การเรียกคนเกาะว่าโบ๊เล ที่ใช้เรียกกันในอดีตนั้นเป็นคำเรียกที่ติดปากกันมานาน โบ๊เลไม่ใช่คำพูดที่ใช้เยียดหยามหรือใช้ตัดพ้อต่อว่ากันให้เสียใจแต่อย่างใด แต่เป็นการบอกที่มาที่ไปของบุคคลและกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ติดต่อสัมพันธ์กันมาช้านาน เป็นนัยยะสำคัญที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคนตรังอีกกลุ่มหนึ่ง จากสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันของจังหวัดตรังในสามลักษณะใหญ่ๆ นั่นคือ ตรังเขา ตรังนา และ ตรังเล กล่าวคือมีชุมชนและประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ราบสูงและภูเขา(ควน) กลุ่มคนเหล่านี้มีวิถีชีวิตผูกพันและมีความเชี่ยวชาญในการใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขาลำเนาไพร เช่น พื้นที่อำเภอปะเหลียน อำเภอนาโยง เป็นต้น กลุ่มตรังนา ได้แก่กลุ่มคนที่มีถิ่นอาศัยและดำรงชีพโดยการเกษตร เรือกสวนไร่นา เช่น อำเภอห้วยยอด และพื้นที่ในทุกอำเภอของตรัง พื้นที่อาศัยของคนกลุ่มนี้คือที่ราบหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มผู้ที่ดำรงชีวิตและมีความเชี่ยวชาญในการดำรงชีพในเกาะและชายทะเล เช่นพื้นที่อำเภอสิเกา กันตัง ย่านตาขาว ปะเหลียน กลุ่มนี้ได้แก่ เกาะสุกร เกาะมุก และเกาะลิบง เป็นต้น ดังนั้น เรื่องราวของเกาะลิบงซึ่งเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ในเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรังจึงมีความน่าสนใจหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
ผู้เขียนเคยลงสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆของตำบลเกาะลิบงพบว่า คุนรุ่นอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป(สัมภาษณ์เมื่อพ.ศ.2544) บางท่านยังสามารถพูดคุยภาษาต้นกำเนิดของตนเองได้ นั่นคือ สำเนียงมลายูแบบมาเลย์นั้นพบมากในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น เกาะลิบงและสิเกาและในตำบลบ่อน้ำร้อน ที่บ้านสิเหร่ ท่าปาบ เป็นต้น ส่วนสำเนียงพูดมลายูแบบชวานั้นใช้กันมากที่เกาะมุก อำเภอกันตัง จากการสังเกตและสอบถามคนสูงอายุในพื้นที่จึงพอจะทำให้ทราบได้ว่า ความเป็นมาของชุมชนในเกาะและชายฝั่งแห่งนี้ ชุมชนดั้งเดิมในสมัยก่อนน่าจะมีที่มาจากเกาะชวาในอินโดนีเซีย และอีกกลุ่มหนึ่งมาจากส่วนต่างๆของมาเลย์ ผู้เขียนเคยสอบถามรุ่นพ่อแม่และรุ่นปู่ย่าหลายคนทำให้ทราบว่า ผู้เขียนเองมีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายู เนื่องจากในสมัยเรียนอยู่มัธยมต้นผู้เขียนเคยพบมีด กริช และของใช้ของคนในสมัยก่อนหลายอย่างซึ่งผู้อาวุโสในพื้นที่ตำบลบ่อน้ำร้อนต่างบอกเล่าความตรงกันว่า เราและผู้เขียนมีบรรพบุรุษที่กระจายและเดินทางมาจากเกาะหมากในแหลมมลายู ที่ตั้งชุมชุนแรกนั้นนั้นอยู่ที่บ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้และอีกส่วนหนึ่งคือบ้านฉางหลาง อำเภอสิเกา แต่เมื่อสืบย้อนไปอีกก็จะพบว่ามีชุมชนมลายูแรกๆอีกชุมชนหนึ่งที่บ้านเกาะเคี่ยม จังหวัดพังงาและจากการสังเกตชื่อสถานที่ต่างๆส่วนใหญ่ก็เป็นชื่อที่ผันมาจากภาษามลายูแทบทั้งสิ้น และจะขอกล่าวถึงประวิติศาสตร์ของเกาะลิบงโดยสังเขปต่อไป
แรกเริ่มเดิมทีย้อนกลับไปประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา คนในเมืองกันตังซึ่งเป็นแผ่นดินใหญ่ยังเรียกคนที่อาศัยอยู่ในเกาะต่างๆ เช่นเกาะมุก และเกาะลิบงว่า”โบ๊เล” การเรียกคนเกาะว่าโบ๊เล ที่ใช้เรียกกันในอดีตนั้นเป็นคำเรียกที่ติดปากกันมานาน โบ๊เลไม่ใช่คำพูดที่ใช้เยียดหยามหรือใช้ตัดพ้อต่อว่ากันให้เสียใจแต่อย่างใด แต่เป็นการบอกที่มาที่ไปของบุคคลและกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ติดต่อสัมพันธ์กันมาช้านาน เป็นนัยยะสำคัญที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคนตรังอีกกลุ่มหนึ่ง จากสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันของจังหวัดตรังในสามลักษณะใหญ่ๆ นั่นคือ ตรังเขา ตรังนา และ ตรังเล กล่าวคือมีชุมชนและประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ราบสูงและภูเขา(ควน) กลุ่มคนเหล่านี้มีวิถีชีวิตผูกพันและมีความเชี่ยวชาญในการใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขาลำเนาไพร เช่น พื้นที่อำเภอปะเหลียน อำเภอนาโยง เป็นต้น กลุ่มตรังนา ได้แก่กลุ่มคนที่มีถิ่นอาศัยและดำรงชีพโดยการเกษตร เรือกสวนไร่นา เช่น อำเภอห้วยยอด และพื้นที่ในทุกอำเภอของตรัง พื้นที่อาศัยของคนกลุ่มนี้คือที่ราบหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มผู้ที่ดำรงชีวิตและมีความเชี่ยวชาญในการดำรงชีพในเกาะและชายทะเล เช่นพื้นที่อำเภอสิเกา กันตัง ย่านตาขาว ปะเหลียน กลุ่มนี้ได้แก่ เกาะสุกร เกาะมุก และเกาะลิบง เป็นต้น ดังนั้น เรื่องราวของเกาะลิบงซึ่งเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ในเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรังจึงมีความน่าสนใจหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
ผู้เขียนเคยลงสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆของตำบลเกาะลิบงพบว่า คุนรุ่นอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป(สัมภาษณ์เมื่อพ.ศ.2544) บางท่านยังสามารถพูดคุยภาษาต้นกำเนิดของตนเองได้ นั่นคือ สำเนียงมลายูแบบมาเลย์นั้นพบมากในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น เกาะลิบงและสิเกาและในตำบลบ่อน้ำร้อน ที่บ้านสิเหร่ ท่าปาบ เป็นต้น ส่วนสำเนียงพูดมลายูแบบชวานั้นใช้กันมากที่เกาะมุก อำเภอกันตัง จากการสังเกตและสอบถามคนสูงอายุในพื้นที่จึงพอจะทำให้ทราบได้ว่า ความเป็นมาของชุมชนในเกาะและชายฝั่งแห่งนี้ ชุมชนดั้งเดิมในสมัยก่อนน่าจะมีที่มาจากเกาะชวาในอินโดนีเซีย และอีกกลุ่มหนึ่งมาจากส่วนต่างๆของมาเลย์ ผู้เขียนเคยสอบถามรุ่นพ่อแม่และรุ่นปู่ย่าหลายคนทำให้ทราบว่า ผู้เขียนเองมีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายู เนื่องจากในสมัยเรียนอยู่มัธยมต้นผู้เขียนเคยพบมีด กริช และของใช้ของคนในสมัยก่อนหลายอย่างซึ่งผู้อาวุโสในพื้นที่ตำบลบ่อน้ำร้อนต่างบอกเล่าความตรงกันว่า เราและผู้เขียนมีบรรพบุรุษที่กระจายและเดินทางมาจากเกาะหมากในแหลมมลายู ที่ตั้งชุมชุนแรกนั้นนั้นอยู่ที่บ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้และอีกส่วนหนึ่งคือบ้านฉางหลาง อำเภอสิเกา แต่เมื่อสืบย้อนไปอีกก็จะพบว่ามีชุมชนมลายูแรกๆอีกชุมชนหนึ่งที่บ้านเกาะเคี่ยม จังหวัดพังงาและจากการสังเกตชื่อสถานที่ต่างๆส่วนใหญ่ก็เป็นชื่อที่ผันมาจากภาษามลายูแทบทั้งสิ้น และจะขอกล่าวถึงประวิติศาสตร์ของเกาะลิบงโดยสังเขปต่อไป
เกาะลิบงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและตรงกับสมัยสุลต่านซัยฮุดดินมุกัรรอมชาร์แห่งรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย พ.ศ.2204 สุลต่านซัยอุดดิน มุกัรรอมชาร์ ได้โปรดเกล้าฯให้พระราชโอรสของพระองค์ชื่อ ตวนกูอะฮ์หมัด ตายุดดิน ฮาเล็มชาร์ มาปกครองเมืองปูเลาลิบง(ปูเลาแปลว่าเกาะ,ฮาเล็มแปลว่ามีความรู้)จากร่องรอยซากกำแพงเมืองและหลุมฝังศพโตะปังกาหวาจึงอาจสันนิษฐานได้ว่าเมืองที่กล่าวถึงตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านโคกสะท้อน หมู่ที่1 ตำบลเกาะลิบงปัจจุบัน
ในสมัยสุลต่านอับดุลเลาะห์ มุกัรรอมชาร์ พ.ศ. 2321-2340 มีบันทึกอยู่ในเอกสารมลายูฉบับหนึ่งว่า ตะลิบงเคยเป็นมุเก็ม(ตำบล)หนึ่งของรัฐเคดาร์ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองท่าอันสำคัญของมลายู ครั้งหนึ่งได้มีการส่งผู้บังคับการกองเรือของเกาะลิบงไปฝึกสอนการต่อเรือแก่รัฐเคดาห์ และบริเวณโดยรอบเกาะลิบงนี้ยังเป็นพื้นที่สร้างรายได้ด้านการค้าขายรังนกนางแอ่น ปลิงทะเล ฯลฯ ให้แก่รัฐเคดาห์ในอดีต
เกาะลิบงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2328 รัฐเคดาห์หรือไทรบุรียังเป็นของไทย แต่ยังมีท่าทีแข็งข้อต่อการปกครองของไทยอยู่และในขณะที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จยกทัพลงไปปราบปรามฝ่ายพม่าที่ฉวยโอกาสเข้ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ หลังจากนั้นจึงเสด็จยกทัพไปตีได้เมืองปัตตานี ทำให้พระยาไทร อับดุลเลาะห์ มุกัรรอม ชาร์ เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเมืองไทรบุรีด้วย จึงตัดสินใจยอมให้อังกฤษเช่าเกาะหมากเมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2329 และเป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับการเข้ามามีบทบาทของกัปตันฟรานซิส ไลท์ ชักธงประเทศอังกฤษขึ้นสู่ยอดเสาที่เกาะปีนังและได้ประกาศว่าเกาะปีนังเป็นของอังกฤษ และจากเหตุการณ์ที่อังกฤษเข้ามายึดครองจึงก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวของชาวมลายูรวมทั้งฝ่ายไทยเพื่อต่อต้านการล่าอาณานิคมของอังกฤษ โดยปรากฏชื่อของ ดาโตะปังกาหวา แห่งเกาะลิบงอยู่ในรายนามผู้ต่อต้านอาณานิคมของฝ่ายอังกฤษถึงสองครั้งคือใน พ.ศ.2329 และ พ.ศ.2334
ต่อมา ดาโตะปังกาหวา จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเพชรภักดีศรีสมุทรสงคราม และในระหว่าง พ.ศ.2328-2330 เกาะลิบงกลายเป็นศูนย์กลางการนัดหมายระหว่างเมืองถลางและเมืองปีนัง ซึงปรากฏหลักฐานจดหมายที่บุคคลสำคัญแห่งเมืองถลางเขียนถึงพระยาราชปิตัน ขอให้ส่งสินค้าจำพวกดีบุก ปืน น้ำมันจัน ผ้าฯลฯ ให้แก่เมืองถลาง โดยได้นัดหมายรับสินค้ากันที่เกาะลิบง
ต่อมา ดาโตะปังกาหวา จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเพชรภักดีศรีสมุทรสงคราม และในระหว่าง พ.ศ.2328-2330 เกาะลิบงกลายเป็นศูนย์กลางการนัดหมายระหว่างเมืองถลางและเมืองปีนัง ซึงปรากฏหลักฐานจดหมายที่บุคคลสำคัญแห่งเมืองถลางเขียนถึงพระยาราชปิตัน ขอให้ส่งสินค้าจำพวกดีบุก ปืน น้ำมันจัน ผ้าฯลฯ ให้แก่เมืองถลาง โดยได้นัดหมายรับสินค้ากันที่เกาะลิบง
ดาโตะ ปังกาหวา หรือต่อมาเรียกว่าพระยาลิบงได้เลื่อนเป็นผู้รักษาเมืองตรัง ขณะนั้นเมืองตรังถูกแบ่งออกเป็นสองเมืองคือเมืองตรังตั้งอยู่ทิศตะวันตกรวมทั้งเกาะลิบงและเมืองภูรา ตั้งอยู่ทิศตะวันออก และในปี พ.ศ.2447 เมืองตรังภูราต้องขึ้นต่อกรุงเทพฯเนื่องจากพระยาลิบงแห่งเมืองตรังอริวิวาทขัดเคืองกันกับเจ้าพระยานคร แต่ภายหลังที่พระยาลิบงถึงแก่กรรมแล้วหลวงฤทธิ์สงครามหรือเจ้าปะแงรัน บุตรเขยของพระยาลิบงได้รักษาราชการแทน ตรงกับสมัยของสุลต่านอะหมัดตะยุดดีน มุกัรรอมชาร์แห่งเมืองเคดาห์ไทรบุรี พ.ศ.2354
ปี พ.ศ.2352 เกิดสงครามศึกเมืองถลาง ตรงกับยุคของพระเจ้าปดุง ตามบันทึกของชาแอร์ เมื่อกองทัพพม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองชุมพร เมืองไชยา มาจนถึงเมืองถลาง โดยมี อะเติ้งหวุ่นกับแยค่องเป็นแม่ทัพ ส่วนฝ่ายไทยมีหลวงฤทธิ์สงครามเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง เกาะลิบงในช่วงนั้นจึงเป็นสถานที่ชุมนุมของทัพเรือที่ยกทัพกันมาช่วยเมืองถลางรบกับพม่า ทั้งที่มาจากหัวเมืองปักษ์ใต้ และจากเมืองเดดาร์ (อ่านต่อประวัติสงครามเก้าทัพ)
หลังจากหลวงฤทธิ์สงครามถึงแก่กรรมแล้วเมืองตรังจึงถูกยกให้ขึ้นแก่เมืองนคร ต่อมาเกาะลิบงจึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเมืองตรัง ในสมัยรัชการที่ 2 พ.ศ.2354 หลวงอุภัยราชธานีเป็นผู้พยาบาลเมือง ต่อมามีการสร้างท่าเรือขึ้นใช้ในการติดต่อค้าขายโดยมีกรมท่าเป็นผู้ดูแล ส่วนปืนหน้าเรือพร้อมกระสุนดินประสิวซึ่งพระยาลิบงและบุตรเขยได้ซื้อไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมดได้ถูกแบ่งสันปันส่วนให้แก่เมืองสงขลาและเมืองนครเพื่อใช้รักษาบ้านเมืองต่อไป3 พ.ศ.2362 ไทยมีการติดต่อเดินทางค้าขายแร่ดีบุกและช้างกับอินเดียโดยใช้เมืองตรังเป็นท่าเรือขนส่งและมีเจ้าพระยานครเป็นผู้จัดการในระหว่างทางได้ใช้เกาะลิบงเป็นที่แวะพักในระหว่างการเดินทาง
ในปี พ.ศ.2367 เจมส์โลว ได้เข้ามาไทยและได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของเขาในเรื่องภูมิศาสตร์ ทรัพยากรต่างๆและกล่าวถึงเกาะลิบงว่า เกาะลิบงเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าและมีชุมชนอาศัยอยู่แล้วก่อนที่ตนจะเข้ามา5 ปีพ.ศ.2443 เมืองตรังปกครองโดยพระยารัษฎานุประดิษฎ์ฯเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรังได้สร้างกระโจมไฟขึ้นที่เกาะตะเกียงซึ่งเป็นเกาะเล็กใกล้กับเกาะลิบงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเดินเรือเข้าออกปากแม่น้ำตรัง หลังจากนั้นประวัติเกาะลิบงและเมืองตรังจึงมีการบอกเล่าและบันทึกไว้มากขึ้นจวบจนถึงยุคปัจจุบัน
เกาะลิบงจากคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่น
เกาะลิบงและเกาะอื่นๆในอดีตเคยเป็นที่ตั้งรกรากของชุมชนชาวเลก่อนจะมีคนกลุ่มอื่นๆเข้ามาประมาณ 100-180 ปี มีหลักฐานที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่หลายแหล่งที่เคยพบในบริเวณเกาะลิบงและพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรัง ได้แก่เครื่องถ้วยชามโบราณและซากโครงกระดูกภายในถ้ำชาวเลบนเขาบาตูปูเต๊ะ หลุมฝังศพของบุคคลสำคัญของโตะปังกาหวาที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่ฝังศพเจ้าพระยาลิบง จากการสังเกตหลุมฝังศพนั้นมีความกว้างและความยาวมากกว่าหลุมฝังศพทั่วไป แม้ว่าจะไม่มีการตกแต่งหรือกั้นแนวรั้วปิดบังไว้ก็ตามแต่ชาวบ้านในท้องที่ก็รู้และเข้าใจตรงกันว่าตรงนั้นเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญยิ่งในอดีต และในศาสนาอิสลามนั้นจะมีการรักษาสถานที่เหล่านั้นไว้แบบเดิมโดยห้ามการปรุงแต่งหรือตั้งโตะหมู่บูชาไว้เป็นที่สักการะ เช่นเดียวกันกับหลุมฝังศพของเจ้าเมืองไชยา ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นี่จึงอาจเป็นเหตุหนึ่งทีคนรุ่นใหม่ในท้องที่ไม่มีความรู้และไม่สนใจในความสำคัญทางประวัติศาสตร์เท่าที่ควร โบราณวัตถุและสถานที่อื่นๆที่เคยพบในเกาะลิบงได้แก่ สระน้ำบนภูเขาในเกาะที่ชาวบ้านเรียกว่า “ควนสระ” กะโหลกที่พบได้ทั่วไปที่ทุ่งหัวคนบริเวณชายหาดบ้านโคกสะท้อน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแดนประหารในการปกครองคนสมัยก่อน ท่าเรือสะพานช้างและด่านภาษีบริเวณแหลมจูโหยซึ่งเป็นท่าเรือเก่าและด่านจัดเก็บภาษีตรงกับหลักฐานเอกสารที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
เรื่องที่เกี่ยวข้อง