ลักษณะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน3-ลักษณะทางสมุทรศาสตร์

Rawai Beach,Phuket
อ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต
ลักษณะชายฝั่ง
ลักษณะชายฝั่งทะเลของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวลงหรือจมตัว ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะสัณฐานชายฝั่งครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 65 ล้านปีมาแล้วในยุคเทอร์เชียร์รี่ การจมตัวของชายฝั่งทาให้ชายฝั่งทะเลของพื้นที่มีความลาดชันและเกิดเป็นแนวไม่ราบเรียบ เว้าแหว่ง มีอ่าวและเกาะแก่งมากมาย ที่เห็นได้ชัดเจน คือ บริเวณปากแม่น้ากระบุรี จังหวัดระนอง เกาะสำคัญ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา เกาะลันตา เกาะลิบง เกาะพระทอง และเกาะยาวใหญ่ บริเวณชายฝั่งทะเลบางแห่ง น้าทะเลท่วมถึง มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ ตั้งแต่อ่าวพังงาลงไปถึงจังหวัดตรัง และพบร่องรอยการกัดเซาะแนวชายฝั่งตามอ่าวต่างๆ บ้าง เช่น บริเวณอ่าวฉลอง อ่าวภูเก็ต อ่าวราไวย์และอ่าวมะพร้าว  เป็นต้น


แหลมพรหมเทพ
แหลมพรหมเทพ

ความลึกของพื้นผิวทะเล 
ความลึกของพื้นผิวทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน แบ่งได้ 2 พื้นที่ตามเส้นชั้นความลึกของน้าทะเลซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของแนวปะการังทั้งชนิดและปริมาณ คือ ผิวพื้นทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดระนอง พังงาฝั่งตะวันตกและภูเก็ตฝั่งตะวันตก ทรวดทรงของพื้นทะเลมีความลาดชันสูง มีความลึกน้าเฉลี่ยประมาณ 1,000 เมตร โดยเฉพาะบริเวณแอ่งอันดามันซึ่งเป็นบริเวณที่ทะเลไทยมีความลึกมากที่สุด ประมาณ 3,000 เมตร ลักษณะพื้นทะเลเป็นทรายและทรายปนโคลน ในขณะที่พื้นผิวทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณจังหวัดพังงาฝั่งใต้ ภูเก็ตฝั่งตะวันออก กระบี่ และตรัง มีความลาดเทน้อย ส่วนของไหล่ทวีปมีความลึกไม่เกิน 300 เมตร ลักษณะพื้นทะเลเป็นเลนโคลนและเลนปนทราย ส่วนตะพักมะริดและแอ่งสุมาตรามีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1,000 และ 1,500 เมตร ตามลาดับ
ภูเก็ต
ทะเลด้านทิศตะวันตกของเกาะภูเก็ต



ขอบคุณ ข้อมูลจาก เอกสารแผนพัฒนาการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามัน 2557-2560


ขับเคลื่อนโดย Blogger.