ลักษณะเปลือกโลกใต้ท้องทะเล


  ใต้พื้นทะเลอันดามันนั้นเป็นรอยต่อเขตแดนของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่สองแผ่นนั่นคือ แผ่นพม่าและจาซันดาซึ่งเชื่อกันว่าแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนี้แต่เดิมมันเคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มหาศาลคือแผ่นยูเรเซีย(Eurasian plate)แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงและการปะทะกันของแผ่นอินเดียกับแผ่นยูเรเซียจึงส่งผลให้เกิดแนวรอยต่อที่โค้งงอและเกิดเป็นแอ่งขึ้นตรงกลางกลายเป็นทะเลอันดามัน ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเปลือกโลกนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3-4 ล้านปีที่ผ่านมา* บริเวณทะเลอันดามันจึงเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งจากหลายๆแหล่งของโลกและเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งตามทฤษฎีวงแหวนไฟ(Ring of Fire)
   
  เหตุการณ์แผ่นดินไหวในบริเวณนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่แผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงตั้งแต่ 8.4-9.3 ริกเตอร์นั้นได้รับการบันทึกไว้ประมาณ 7 ครั้งนั่นคือในปี 1797,1833,1861,2004,2005,2007 และล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2012 ซึ่งแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากรอยต่อระหว่างแผ่นพม่าและแผ่นอินโดออสเตรเลียที่เคยเขย่าท้องทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียด้วยระดับความรุนแรง 9.3 ริกเตอร์ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงถึง 30 ฟุต ในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่งและมีตัวเลขของผู้เสียชีวิตตามแนวชายฝั่งของประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่าและศรีลังกาที่ได้รับการยืนยันประมาณ 280,000 คน


อ่านต่อ พบโคลนภูเขาไฟใต้ทะเลอันดามัน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.