เสรีการค้าอาเซียน,คนไทยต้องรู้

ASEAN AFTA AEC


ปัจจุบันรัฐชาติในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกมีการรวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มในเวทีโลก เช่น NAFTA MERCOSUR EU GCC SACU BIMST-EC CER และล่าสุดคือกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ในฐานะที่เป็นคนไทย เป็นคนเลและติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลาย จึงขอกล่าวเรื่องอาเซี่ยนซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าองค์กรอื่นๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นและอธิบายให้ชาวบ้านด้วยกันเข้าใจกันพอจะนำไปคุยในร้านกาแฟได้

 องค์การอาเซี่ยนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510(ค.ศ.1967) โดยมีประเทศสมาชิกช่วงแรกคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทยและสิงคโปร์ ต่อมาได้ขายสมาชิกเพิ่มเติมไปสู่ประเทศบรูไน เวียดนาม พม่า และสมาชิกรายล่าสุดคือกัมพูชา ทั้งนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการสร้างสันติสุขและเสถียรภาพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้นในภูมิภาค

 ปีพ.ศ.2540 มีการจัดทำข้อตกลง"วิสัยทัศน์อาเซี่ยน 2020" เป็นการระบุถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่จะร่วมมือกันสร้าง"ประชาคมแห่งสังคมเอื้ออาทร" ให้เกิดขึ้นภายในปี ค.ศ.2020(พ.ศ.2573) และมีแผนโครงการขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ละแผนจะมีระยะเวลา 6 ปี ประเมินร่วมกันทุกๆ 3 ปี เริ่มด้วยแผนปฎิบัติการฮานอย(พ.ศ.2541-2547) แผนปฎิบัติการเวียงจันทร์(พ.ศ.2547-2553) ในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งที่ 9 ที่บาหลี อินโดนีเซีย พ.ศ.2546 บรรดาผู้นำได้ร่วมลงนามในปฎิญญาความร่วมมืออาเซียนฉบับบที่สอง (Bali Concord II) เป็นการยืนยันความมุ่งมั่นที่จะให้มีการร่วมมือขึ้นอย่างจริงจัง

ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการลงนามกฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter) และพิมพ์เขียวแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint-AEC) การลงนามในครั้งนั้นเป็นการแสดงเจตจำนงของการผนึกความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ เป็นองค์การระหว่างรัฐที่มีกฎกติกาของตนเองร่วมกัน


กฎบัตรอาเซียนคืออะไร
 กฎบัตรอาเซียนคือข้อตกลงที่กำหนดโครงสร้าง วัตถุประสงค์และหลักการขององค์กรอาเซียน รวมทั้งวิธีการปฏิบัติและหลักการปกครองของเหล่าประเทศสมาชิก เปรียบเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญของอาเซียน ส่วนแผนประชาคมอาเซียนนั้นเป็นการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสมาชิกในระยะยาว กฎบัตรอาเซียนเป็นบทบัญญัติเชิงสถาบันและเชิงกฎหมายของอาเซียนเมื่อมีการลงนามรับรองแล้วก็จะต้องมีการให้สัตยาบันตามกระบวนการทางกฎหมายภายในประเทศของแต่ละประเทศด้วย(การให้ความเห็นชอบในรัฐสภา)จึงจะมีผลบังคับ

กฎบัตรอาเซียนมีหลักการอย่างไรบ้าง
กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยเนื้อหา 13 บทใหญ่ 55 มาตราและ 4 ภาคผนวก


อ่านเพิ่มเติม


ขับเคลื่อนโดย Blogger.