กะเทาะเปลือกเงาะป่าเทือกเขาบรรทัด

ชนกลุ่มน้อยเขตรอยต่อ 4 จังหวัด วันนี้วิถีชีวิตคล้ายคนเมือง



เงาะ ป่า หรือที่นิยมเรียกกันว่าเงาะป่าซาไกนั้น เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่ยังหลงเหลือและซ่อนตัวอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัดตรงเขต รอยต่อของเขตจังหวัดตรัง สตูล สงขลา และจังหวัดพัทลุง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันได้ว่าชาวป่าที่อยู่บนเทือกเขาบรรทัดได้อพยพ ย้ายถิ่นฐานมาจากไหน เท่าที่ได้สัมผัสกับคนกลุ่มนี้ก็พอจะคาดเดาได้ว่า เงาะป่าเทือกเขาบรรทัดใน 4 จังหวัดเขตรอยต่อเขาบรรทัด น่าจะเป็นเงาะป่าที่แตกต่างจากกลุ่มซาไกในจังหวัดยะลาและกลุ่มที่ตั้งถิ่น ฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย เพราะจากที่ได้เที่ยวป่าคลุกคลีอยู่กับเงาะป่าเขาบรรทัดและซาไกในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ก็พบว่าคน 2 กลุ่มนี้มีวิถีชีวิตและภาษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อนำ 2 กลุ่มมาอยู่ด้วยกันก็จะพูดจากันไม่รู้เรื่อง แม้แต่วัฒนธรรมการกินก็ยังแตกต่างกัน ผลไม้หรือพืชบางชนิดที่กลุ่มซาไกในจังหวัดยะลาไม่นิยมเก็บหามาเป็นอาหาร แต่เงาะป่าเขาบรรทัดยังนำมาเป็นอาหารและกินได้โดยไม่มีอันตราย

สำหรับ กลุ่มเงาะป่าเทือกเขาบรรทัดที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตรอยต่อของ 4 จังหวัดนั้น จากการบอกเล่าของผู้คนในอดีต ทำให้ทราบว่า เขาบรรทัดเป็นที่อยู่อาศัยของเงาะป่ามาตั้งแต่อดีต และกลุ่มเงาะจะไม่นิยมเดินออกจากป่าลงมาสู่ที่ราบเพื่อคลุกคลีกับชาวบ้านมาก นัก นอกจากนาน ๆ ครั้งจะนำหวาย ใบเตยและเนื้อสัตว์มาแลกข้าวสาร ผู้คนบริเวณเชิงเขาบรรทัดก็จะไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้  เมื่อเงาะป่าออกมาหาในหมู่บ้านก็จะไม่ยอมให้ขึ้นบ้าน เมื่อจะจัดหา อาหารให้กลุ่มเงาะก็จะนำข้าวสุกพร้อม กับข้าวไปเทให้กินบนเปลือกไม้ ใบไม้หรือต้อหมาก เนื่องจากมองว่า เงาะป่าไม่อาบน้ำ มือ เท้าและเสื้อผ้าสกปรก จึงไม่อยากจะอยู่ร่วมได้ แต่ปัจจุบันเงาะป่าที่อยู่อาศัยบริเวณเทือกเขาบรรทัดได้ศึกษาเรียนรู้การใช้ ชีวิตจากคนเมืองมากขึ้น เงาะป่าบางคนรู้จักหุงต้มอาหารด้วยตนเอง บางคนก็อาบน้ำในเวลาจำเป็นที่จะต้องเดินออกจากป่า มาพบผู้คนในที่ราบ โดยเฉพาะเงาะผู้หญิงที่อยู่ประจำที่ เขตจังหวัดตรังและจังหวัดสตูล เริ่มจะอาบน้ำตามที่ได้พบเห็นคนเมืองที่อาบน้ำเช้า-เย็น สำหรับเงาะป่าที่ยังอยู่อาศัยบนเทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตรัง สงขลา สตูลและจังหวัดพัทลุง ประมาณ 120-150 คน เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่มีชาติศาสนาและประเพณีวัฒนธรรม  ใด ๆ การดำรงชีวิตอยู่กลางป่า ก็ จะอยู่กันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสมา ชิก 7-20 คน ย้ายถิ่นหากินอยู่กลางป่าเขตรอยต่อและบางครั้งก็ออก มาสร้างทับอยู่บริเวณเชิงเขาใกล้หมู่บ้าน มีผู้คนพบเงาะป่าอาศัยอยู่ประจำที่บ้านนาศรีทอง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เป็นกลุ่มของ[คำไม่พึงประสงค์]เฒ่าขำพร้อมสมาชิกประมาณ 10-15  คน


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

 ในส่วนของจังหวัดพัทลุง กลุ่มเงาะจะสร้างทับย้ายถิ่นอยู่บริเวณปลายห้วยบอกตุด น้ำตกโหนง ควนสันไม้ไผ่ ปลายถนนชูสิน  ควนหลังหนำวร ควนหน้าหนำแม่น ค่ายป่าไม้ เขตตำบลทุ่งนารี อ.ป่าบอนและน้ำตกท่าช้าง เหนือน้ำตกลาดเตย ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จะมีเงาะป่ากลุ่มของเฒ่าแดงยาว  เฒ่าแดงเล็ก  เฒ่าควน  เฒ่าควาน  เฒ่าเส็น เฒ่าแช่ม  เฒ่าแชร์ และ เฒ่ายาว  พร้อมสมาชิกชาย หญิงประมาณ 30-40  คน ย้ายที่สร้างทับอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง ส่วนที่ควนไม้ดำ น้ำตกเจ้าปะ บ้านในตระ เป็นที่อยู่ของเงาะป่ากลุ่มของหว่าง ลุงปลูก ป้าเหรียม  เฒ่าไข่ พร้อมลูกหลานอีกประมาณ 15-20 คน แต่ส่วนใหญ่เงาะป่าในจังหวัดตรัง จะสร้างที่พักค่อนข้างจะถาวรและอยู่ประจำที่ เช่นเดียวกับกลุ่มเงาะป่าที่เขาน้ำเต้า เขาติง ใน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ก็จะอยู่กันเป็นกลุ่มในป่าสวนยางบริเวณเชิงเขา

ส่วน ที่จังหวัดสตูลนั้นเงาะป่าจะอยู่ตามเชิงเขาบรรทัดที่น้ำตกวังสายทอง หน่วยพิทักษ์ป่าถ้ำเพชร บ้านปากคอก และบริเวณน้ำตกวังใต้หนาน เป็นกลุ่มของเฒ่าเปรียว ไข  เฒ่ายาวแผนที่  และสมาชิกของกลุ่มประมาณ 50 คน สร้างทับอยู่ในป่าใกล้หมู่บ้าน มีบางกลุ่มนำครอบครัวมาอยู่ในป่าสวนยาง และส่งลูกไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนวังสายทอง โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ที่จังหวัดพัทลุง การดำรงชีวิตของกลุ่มเงาะป่าในเขตรอยต่อของ 4 จังหวัดเทือกเขาบรรทัดนั้น เงาะป่าทุกคนจะรู้จักกันดีและส่วนใหญ่ก็เป็นญาติด้วยกัน มีเฒ่าควนและ

เฒ่า เปรียวเป็นเงาะผู้ใหญ่และมีลูกหลานจำนวนมาก เมื่อมีครอบครัวแล้วต่างคนก็ไปสร้างทับอยู่กันแบบครอบครัว เมื่อถึงเวลาย้ายทับเงาะป่าคนไหนจะย้ายไปอยู่กับใครหรือจะแยกกลุ่มก็ไม่มี ใครสนใจ สามารถแยกหรือย้ายที่อยู่อาศัยได้ตลอดเวลา การมีคู่หรือแต่งงานออกทับของเงาะก็เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อฝ่ายหญิงมีอายุได้ประมาณ 8-9 ปี ก็จะมีฝ่ายชายมาขออยู่ด้วย เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงก็จะสร้างทับอยู่ด้วยกัน โดยมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องฝ่ายหญิงเพียงได้รับรู้ แต่บางครั้งก็จะมีพิธีแต่งงานที่จัดขึ้นในป่า เงาะผู้ใหญ่จะเรียกคู่บ่าวสาวมานั่งใกล้ ๆ และสั่งสอนการมีชีวิตคู่ เมื่อคู่บ่าวสาวได้อยู่ร่วมกันแล้ว เมื่อถึงเวลาเดินป่าไปล่าสัตว์ เก็บผลไม้หรือขุดหัวมันก็จะไปด้วยกัน โดยไม่ยอมทิ้งสามีหรือภรรยาไว้ที่ทับ ซึ่งก็มีอยู่บ่อยครั้งที่เงาะผู้ชายเดินป่าไปหาอาหาร เมื่อกลับมาถึงทับก็พบว่ามีเงาะคนอื่นนอนอยู่กับภรรยาภายในทับของตัวเอง แต่ฝ่ายสามีก็ไม่ได้แสดงอาการโกรธแค้นให้เห็น และพยายามจัดหากิ่งไม้มาสร้างที่อยู่ใหม่ในบริเวณเดียวกัน เพราะจากการสอบถามเงาะพ่อม่าย ก็ทราบว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ฝ่ายหญิงจะไปมีคู่ใหม่ได้ ในขณะที่ฝ่ายหญิงไม่ได้ตั้งท้อง ถ้าอยู่กับสามีใหม่ได้ไม่นานจะกลับมาอยู่กับสามีเก่าอีกก็ได้ เงาะผู้ชายบางคนมีภรรยาที่ได้รับมาจากพ่อเป็นภรรยาที่พ่อยกให้มาอยู่ด้วย ฝ่ายหญิงที่เคยมีลูกกับพ่อมาแล้วก็สามารถมีลูกกับลูกเลี้ยงของตัวเองได้

เงาะ ป่าผู้หญิงที่มีคู่อยู่ด้วยกันก็จะตั้งท้องและคลอดลูกเกือบทุกปี ส่วนใหญ่ที่คลอดออกมาจะเป็นเงาะผู้ชาย แต่เด็กเงาะจะเสียชีวิตหลังจากคลอดออกมาได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน จากการสังเกตของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มเงาะ ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าเด็กเงาะที่คลอดออกมาร่างกายไม่สมบูรณ์ แม่จะทำคลอดลูกด้วยตัวเอง ส่วนผู้เป็นพ่อจะเดินออกจากทับไปนั่งรออยู่ที่อื่น เพราะกลัวว่าภรรยาของตัวเองจะเสียชีวิตจากการคลอดลูก แต่ก็มีเงาะผู้ชายบางคนใจกล้ายอมอยู่ทับและทำคลอดให้ภรรยาออกเมื่อแม่คลอด ลูกมาแล้วแม่จะนำลูกที่คลอด

ออกมาใหม่ ๆ มาวางไว้บนหน้าท้องเพื่อให้ลูกได้รับไออุ่นจากท้องแม่ จนกระทั่งเลือดแห้ง หลังจากนั้นแม่จะนำลูกไปอาบน้ำ การเลี้ยงดูลูกเงาะที่คลอดออกมาใหม่ ๆ นั้น เป็นปัญหาที่น่าหนักใจต่อผู้พบเห็นเนื่องจากผู้เป็นแม่มีร่างกายไม่สมบูรณ์ น้ำนมจากแม่ที่จะใช้เลี้ยงลูกก็มีไม่พอ แม่เด็กจำเป็นจะต้องจัดหาหัวมัน มาเคี้ยวให้ละเอียดก่อนที่จะป้อนให้ลูกกินเมื่อมีอาการป่วยพ่อแม่จะเข้าป่า เก็บหาพืชสมุนไพรมาใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งบางครั้งสมุนไพรอาจจะไม่ดีพอก็ทำให้เด็กเงาะเสียชีวิตได้

วันนี้ การใช้ชีวิตอยู่กลางป่าของกลุ่มเงาะเขาบรรทัด ก็ทำให้พวกเขามีความอดอยากยิ่งขึ้น นอกจากผืนป่าที่ถูกทำลายรอบ ๆ เขาบรรทัดแล้ว ผลไม้ที่จะเก็บหามาเป็นอาหารก็ไม่ออกดอกออกลูกตามฤดูกาลและที่สำคัญกลุ่มคน จากพื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัดที่นิยมเข้าป่าล่าสัตว์ ยังมองกลุ่มเงาะผู้น่าสงสารเป็นตัวอันตรายไล่สัตว์ป่าจนทำให้คนล่าสัตว์หา สัตว์ไม่ได้ โกรธแค้นถึงกับใช้ปืนยิงขู่ไล่เงาะป่าให้ข้ามเขตไปอยู่ที่อื่น ความเป็นอยู่ของเงาะป่าก็วนเวียนเป็นอย่างนี้ไปไม่มีที่สิ้นสุด.

บุญเลิศ  ชายเกตุ

Credit: Special Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.