ตรัง ก่อนตั้งเมืองควนธานี

เมืองตรังสมัยก่อนตั้งเมืองควนธานี

หลักฐานศิลาจารึกในวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุวาชุมชนศรีวิชัยในแหลมมลายูมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และเมืองนครศรีธรรมราชนั้นมีกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๔ และกล่าวว่าเมืองนครศรีธรรมราชมีเมืองขึ้นอยู่ ๑๒ หัวเมือง  (เมือง ๑๒ นักษัตร)และใช้รูปสัตว์ต่างๆเป็นตราประจำหัวเมือง โดยใช้ตราม้า(มะเมีย)เป็นตราประจำหัวเมืองตรัง จึงถือได้ว่าศิลาจารึกที่กล่าวถึงนี้เป็นการบันทึกด้วยลายลักษณ์อักษรชิ้น แรกของจังหวัดตรัง

ศาสตราจารย์ มานิต วัลลิโภดม ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทยได้กล่าวไว้ในเอกสารเรื่อง”สภาพ ต่างๆของอาณาจักรในภาคใต้ของประเทศไทยก่อนอาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจ” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าก่อนการตั้งเมืองควนธานีมีหลักฐานว่าตรังเคยตั้งเป็น เมืองมาแล้วอย่างน้อย ๓ สมัย

สมัยที่ ๑ -ยุคที่ ๑ เหนือเขาปินะขึ้นไประยะหนึ่ง  ริมแม่น้ำ (หมายถึงแม่น้ำตรัง ผู้เขียน) ฝั่งตะวันออก  มีปากคลองกะปงฝั่งตรงข้ามคลองกะปงเป็นบ้านหูหนาน  เป็นที่ตั้งเมืองตรังครั้งแรก  เรียกชื่อตามพื้นบ้านว่า กรุงธานีบริเวณนี้ถูกเกลื่อนทำเป็นสวนยางพาราเสียหมดแล้ว
สมัยที่ ๒- “ยุคที่ ๒ ย้ายมาตั้งอยู่ใกล้คลองลำภูรา  เรียกกันว่าเมืองตรังคปุระหรือเมืองลำภูรา  แถบ นี้มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อเขาลำภูราในถ้ำมีรูปภาพเขียนสีเป็นลายวงๆ เคยพบเครื่องมือหินใหม่กับหม้อดินเผาสีดำชาวบ้านเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำตรา  ถัดตัวเมืองลงมาเล็กน้อยมีหมู่บ้านอู่ตะเภาหรือทุ่งทัพเรือ  เป็นที่ต่อเรือรบของเมืองตรังคปุระ  อาจจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ๑๘ หรือสูงกว่านี้ก็ได้
สมัยที่ ๓- “ยุคที่ ๓ ย้ายลงมาตั้งอยู่ข้างใต้หมู่บ้านอู่ตะเภา  เรียกว่าเมืองตรังนาแขก  อายุจะราวต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองตรังคปุระยุคที่ ๒ คิดระยะทางตามลำแม่น้ำ (แม่น้ำตรัง) อยู่เหนือเมืองตรังนาแขกยุคที่ ขึ้นไปประมาณ ๑๑– ๑๒ กิโลเมตร  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกล่าวถึงลำน้ำตรังที่ตำบลท่าจีน  ข้างใต้บ้านนาถ้ำและอยู่เหนือบ้านนาแขกเมือง พ.ศ.๒๔๔๔ ว่า
ถึงบ้านท่าจีน...พวกจีนฮกเกี้ยนอยู่ค้าขาย  มีเรือเสาใบอย่างจีนใหญ่ๆ จอดอยู่ ๘ ลำ และมีอู่ต่อเรือชนิดนั้นที่นั้นอีก ๒ แห่ง  กำลังต่อเรืออยู่ทั้ง ๒ อู่...
ข้อความนี้ชี้ให้เห็นว่า  เมื่อ ๘๐ ปีมานี้เรือสำเภาจีนขนาดใหญ่ๆ ยังสามารถลอยลำอยู่ในแม่น้ำตรัง  เลยตำบลนาแขกขึ้นไป  ทั้งยังมีอู่ต่อเรือสำเภาอยู่ด้วย  จากบ้านนาแขก  บ้านนาถ้ำขึ้นไปอีก ๑๕ – ๑๖ กิโลเมตร  ถึงบ้านเขาปินะกับบ้านปากคลองกะปง  ฉะนั้นเมื่อเวลานานนับพันปีมาแล้วดูจะไม่มีปัญหา  ถ้าจะพูดว่าน้ำทะเลย่อมจะขึ้นลึกเข้ามาในลำแม่น้ำตรังอีกมากมาย  ช่วยให้เรือใบเดินสมุทรสามารถเข้าไปบรรทุกขนถ่ายสินค้าได้ถึงท่าเมืองตรัง กรุงธานียุคที่
และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า
สองฝั่งลำน้ำ (หมายถึงลำน้ำตรัง ผู้เขียน) มีเขาที่มีถ้ำเช่น เขาสมอ เขาลำภูลา เขาหาร เขาปินะ แต่ละถ้ำได้พบพระพิมพ์ดินดิบอายุพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ๑๓ กันมากมาย  นับเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่แสดงอายุของเมืองตรัง...
อ่านต่อ ประวัติศาสตร์ตรัง ๓

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.